การละเล่นพื้นบ้าน
การละเล่นของไทยในสมัยก่อนนั้นมีวิธีการเล่นที่สนุกสนานและหลากหลาย การละเล่นของเด็กสมัยก่อนที่นิยมเล่นกันในชีวิตประจำวันนั้น และสืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน ซึ่งบางประเภทมีบทร้อง และท่าทางประกอบ ส่วนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มักมีการกำหนดขึ้นเองตามข้อตกลงของกลุ่มผู้เล่นในแต่ละท้องถิ่น บางครั้งก็เล่นตามความสนุกสนานร่าเริง แต่บางครั้งก็เล่นเพื่อการแข่งขันซึ่งทำให้ได้รับความบันเทิงจากการละเล่นไม่ใช่น้อย ขณะเดียวกันก็ยังได้เพิ่มพูนทักษะทางร่างกายและจิตใจ ไปพร้อมกันด้วย ซึ่งการละเล่น พื้นบ้านของไทยเราก็มีให้เลือกเล่นมากมายตามแต่เวลา โอกาส และสถานที่เอื้ออำนวย แต่ในปัจจุบันสังคม มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้นเลือนหายไปจึงเป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนรุ่นต่อมาอาจไม่ทราบถึงการละเล่นของไทยที่สนุกสนาน เพราะไม่รู้ถึงวิธีการเล่นและประโยชน์ของการละเล่นพื้นบ้าน
ดังนั้นเรื่อง การละเล่นพื้นบ้านของเรา ที่เป็นที่นิยมเล่นกันกับเพื่อน ๆ ในสมัยเด็ก ๆ ในหมู่บ้านเรา ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก และเราก็ได้ผ่านช่วงนี้มาแล้วด้วยเหมือนกัน ซึ่งเชื่อว่าทุกคนจะต้องผ่านวัยเด็กมาแล้วกันทั้งนั้น หรือบางคนอาจจะกำลังอยู่ในช่วงนี้ก็ได้ ในช่วงวัยเด็กเป็นช่วงที่สนุกมากจนไม่อยากผ่านช่วงนี้มาเลย กลุ่มผู้ศึกษาจึงเลือกศึกษา เรื่องการละเล่นพื้นบ้านของเรา เพื่อเป็นอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นของหมู่บ้านและการละเล่นของไทยที่กำลังจะสูญหายให้เป็นที่รู้จักเพื่อชนรุ่นหลังสืบไป
การละเล่นพื้นบ้าน หมายถึง กิจกรรมการเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่นดังนี้การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นผลิตผลอันเกิดจากความคิดและจินตนาการของมนุษย์ ย่อมสะท้อนถึงโลกทัศน์ ภูมิธรรม และจิตวิญญาณของบรรพชนในท้องถิ่นที่ได้ถูกหล่อหลอมจนตกผลึกเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าและได้กลายเป็นมรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศชาติ
การละเล่นนับว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู ในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดดารยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม สรรค์สร้างความเป็นกัลยาณมิตรขึ้นในชุมชน ทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งจนก่อเป็นความดีงามอันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต
การละเล่นนับว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู ในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดดารยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม สรรค์สร้างความเป็นกัลยาณมิตรขึ้นในชุมชน ทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งจนก่อเป็นความดีงามอันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต
การละเล่นของไทยไม่สามารถลำดับให้เห็นพัฒนาการตามกาลเวลาได้อย่างชัดเจนทั้งนี้เนื่องจากการละเล่นส่วนใหญ่เป็นกระบวนการถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติ มิใช่ตำรา จึงขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะใช้เป็นข้อมูลในการสร้างลำดับอายุสมัยของการละเล่นแต่ละอย่างได้ยิ่งไปกว่านั้น การละเล่นของไทยส่วนใหญ่มีลักษณะของการพัฒนาตนเองและค่อยเป็นค่อยไปเพราะจดจำสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (ร.อ.หญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์ ๒๕๓๓ : ๑๕) และโดยเหตุที่การละเล่นเกิดขึ้นมายาวนานและปรากฏอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่นนี้ทำให้เกิดความหลากหลายของการละเล่นพื้นบ้าน มีทั้งลักษณะร่วม และลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ตรงกันในทุกท้องถิ่นก็คือมีการละเล่นพื้นบ้านทั้งที่เป็นของเด็กและของผู้ใหญ่
ประวัติความเป็นมา ของการละเล่นพื้นบ้าน
เป็นการละเล่นที่มีในกลุ่มสังคมท้องถิ่น ในอดีตมีกีฬาพื้นบ้านต่างๆให้เล่นมากมายตั้งแต่รุ่นก่อนๆจนกระทั่งถึงรุ่น ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่ซึ่งแต่ก็น้อยกว่าในสมัยก่อนมากเพราะสมัย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามามากจึงทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้เล่นกันนัก กิจกรรม การเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่น ดังนี้การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นผลิตผลอันเกิดจากความคิดและจินตนาการของ มนุษย์ย่อมสะท้อนถึงโลกทัศน์ ภูมิธรรม และจิตวิญญาณของบรรพชนในท้องถิ่นที่ได้ถูกหล่อหลอมจนตกผลึกเป็นภูมิปัญญาอัน ทรงคุณค่าและได้กลายเป็นมรดำวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศชาติการละเล่น นับว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่
ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู ในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดดารยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม สรรค์สร้างความเป็นกับญาติมิตรขึ้นในชุมชน ทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งจนก่อเป็นความดีงามอันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่ง ชีวิต
การละเล่นของไทยไม่สามารถลำดับให้เห็นพัฒนาการตามกาลเวลาได้อย่างชัดเจนทั้ง นี้เนื่องจากการละเล่นส่วนใหญ่เป็นกระบวนการถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติ มิใช่ตำรา จึงขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะใช้เป็นข้อมูลในการสร้างลำดับอายุ สมัยของการละเล่นแต่ละอย่างได้ยิ่งไปกว่านั้น การละเล่นของไทยส่วนใหญ่มีลักษณะของการพัฒนาตนเองและค่อยเป็นค่อยไปเพราะจด จำสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (ร.อ.หญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์ ๒๕๓๓ : ๑๕) และโดยเหตุที่การละเล่นเกิดขึ้นมายาวนานและปรากฏอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่นนี้ทำให้เกิดความหลากหลายของการละเล่นพื้นบ้าน มีทั้งลักษณะร่วม และลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ตรงกันในทุกท้องถิ่นก็คือมีการละเล่นพื้นบ้านทั้งที่เป็น ของเด็กและของผู้ใหญ่
การละเล่นพื้นเมือง คือ การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยสามารถแบ่งตาม
การละเล่นแต่ละภาค ดังนี้
* การละเล่นภาคกลางและภาคตะวันออก
* การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
* การละเล่นภาคเหนือ
* การละเล่นภาคใต้
การละเล่นของไทยไม่สามารถลำดับให้เห็นพัฒนาการตามกาลเวลาได้อย่างชัดเจนทั้ง นี้เนื่องจากการละเล่นส่วนใหญ่เป็นกระบวนการถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติ มิใช่ตำรา จึงขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะใช้เป็นข้อมูลในการสร้างลำดับอายุ สมัยของการละเล่นแต่ละอย่างได้ยิ่งไปกว่านั้น การละเล่นของไทยส่วนใหญ่มีลักษณะของการพัฒนาตนเองและค่อยเป็นค่อยไปเพราะจด จำสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (ร.อ.หญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์ ๒๕๓๓ : ๑๕) และโดยเหตุที่การละเล่นเกิดขึ้นมายาวนานและปรากฏอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่นนี้ทำให้เกิดความหลากหลายของการละเล่นพื้นบ้าน มีทั้งลักษณะร่วม และลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ตรงกันในทุกท้องถิ่นก็คือมีการละเล่นพื้นบ้านทั้งที่เป็น ของเด็กและของผู้ใหญ่
การละเล่นพื้นเมือง คือ การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยสามารถแบ่งตาม
การละเล่นแต่ละภาค ดังนี้
* การละเล่นภาคกลางและภาคตะวันออก
* การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
* การละเล่นภาคเหนือ
* การละเล่นภาคใต้
ความแตกต่างของการละเล่นจะปรากฏใน ลักษณะ ท่าทางการร่ายรำ คำร้อง ดนตรี และการแต่งกาย การละเล่นเป็นกิจกรรมบันเทิงที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ อันเนื่องด้วยวัฒนธรรมและประเพณี สะท้อนวิถีชีวิตและความเชื่อของสังคมที่สืบทอดมาแต่โบราณ การละเล่นบางอย่างของแต่ละภาคอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ ใกล้เคียงที่มีพรมแดนติดต่อหรือใกล้เคียงกันกัน เช่น ประเทศลาว กัมพูชา พม่า จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…” และในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้ง กรุงเก่า ได้กล่าวถึงการละเล่นนั้นบทละครนั้น ได้แก่ ลิงชิงหลัก และปลาลง อวน ประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล
ลักษณะของกิจกรรมบันเทิงที่จัดอยู่ในการละเล่น ได้แก่
* การแสดง หมายถึงการละเล่นที่รวมทั้งที่เป็นแบบแผนและการแสดงทั่วไปของชาวบ้านในรูปแบบการร้องการบรรเลงการฟ้อน
รำซึ่งประกอบด้วยดนตรี เพลงและนาฏศิลป์
* มหรสพ หมายถึงการแสดงที่ฝ่ายบ้านเมืองจะเรียกเก็บค่าแสดงเป็นเงินภาษีแผ่นดินตามพระราชบัญญัติที่ กำหนดไว้
ตั้งแต่พุทธศักราช 2404 เป็นต้นมา ประกาศมหรสพว่าด้วยการละเล่นหลายประเภทดังนี้ ละคร งิ้วหุ่นหนังต่างๆ สักวา เสภา
ลิเก กลองยาว ลาวแพน มอญรำและทวายรำ พิณพาทย์ มโหรี กลองแขก คฤหัสถ์สวดศพ และจำอวด
* กีฬาและนันทนาการ คือ การละเล่นเพื่อความสนุกสนานตามเทศกาลและเล่นตามฤดูกาล และการละเล่น เพื่อการแข่งขัน
หรือกิจกรรมที่ทำตามความสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และ ผ่อนคลายความตึงเครียด
รำซึ่งประกอบด้วยดนตรี เพลงและนาฏศิลป์
* มหรสพ หมายถึงการแสดงที่ฝ่ายบ้านเมืองจะเรียกเก็บค่าแสดงเป็นเงินภาษีแผ่นดินตามพระราชบัญญัติที่ กำหนดไว้
ตั้งแต่พุทธศักราช 2404 เป็นต้นมา ประกาศมหรสพว่าด้วยการละเล่นหลายประเภทดังนี้ ละคร งิ้วหุ่นหนังต่างๆ สักวา เสภา
ลิเก กลองยาว ลาวแพน มอญรำและทวายรำ พิณพาทย์ มโหรี กลองแขก คฤหัสถ์สวดศพ และจำอวด
* กีฬาและนันทนาการ คือ การละเล่นเพื่อความสนุกสนานตามเทศกาลและเล่นตามฤดูกาล และการละเล่น เพื่อการแข่งขัน
หรือกิจกรรมที่ทำตามความสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และ ผ่อนคลายความตึงเครียด
การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร
ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า
ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า
ประเภทของการละเล่น
เนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมายจนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิด) แต่พอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
การละเล่นกลางแจ้ง และการละเล่นในร่ม และในแต่ละประเภทก็ยังแบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบ กับที่ไม่มีบทร้องประกอบการละเล่นกลางแจ้งที่มีบทร้องประกอบได้แก่ โพงพาง เสือไล่หมู่ อ้ายเข้อ้ายโขงซ่อนหาหรือโป้งแปะ เอาเถิด มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร ที่มีคำโต้ตอบ เช่น งูกันหาง แม่นาคพระโขนง มะล็อกก๊อกแก็ก เขย่งเก็งกอย ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น ลูกดิ่ง ลูกข่าง ลูกหิน เตยหรือตาล่อง ข้าวหลามตัด วัวกระทิง ลูกช่วง ห่วงยาง เสือข้ามห้วยเคี่ยว เสือข้ามห้วยหมู่ ตี่จับ แตะหุ่น ตาเขย่ง ยิงหนังสะติ๊ก ปลาหมอ ตกกะทะ ตีลูกล้อ การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดดเชือกหมู่ ร่อนรูป หลุมเมือง ทอดกะทะ หรือหมุนนาฬิกา ขี่ม้าส่งเมือง กาฟักไข่ ตีโป่ง ชักคะเย่อ โปลิศจับขโมย สะบ้า เสือกันวัว ขี่ม้าก้านกล้วย กระดานกระดก วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทน ยิงเป็นก้านกล้วย การละเล่นในร่มที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ขี้ตู่กลางนา ซักส้าว โยกเยก แมงมุม จับปูดำขยำปูนา จีจ่อเจี๊ยบ เด็กเอ๋ยพาย จ้ำจี้ ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ดีดเม็ดมะขามลงหลุม อีขีดอีเขียน อีตัก เสือตกถัง เสือกันวัว หมากกินอิ่ม สีซอ หมากเก็บ หมากตะเกียบ ปั่นแปะ หัวก้อย กำทาย ทายใบสน ตีไก่ เป่ากบ ตีตบแผละ กัดปลา นาฬิกาทางมะพร้าว กงจักร ต่อบ้าน พับกระดาษ ฝนรูป จูงนางเจ้าห้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่เช่นเล่นเป็นพ่อเป็นแม่ เล่นแต่งงาน เล่นหม้อข้าวหม้อแกง แคะขนมครกเล่นขายของ เล่นเข้าทรง ทายคำปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกง....และบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุกน้ำปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่งเรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ายิงฉุบ
เด็กแต่ละภาคเล่นเหมือนกันหรือไม่
เนื่องจากในแต่ละภาคมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ทำให้การละเล่นของเด็ก แต่ละภาคมีความแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น กติกา และอุปกรณ์การละเล่น แต่โดยส่วนรวมแล้วลักษณะการเล่นจะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากในแต่ละภาคมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ทำให้การละเล่นของเด็ก แต่ละภาคมีความแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น กติกา และอุปกรณ์การละเล่น แต่โดยส่วนรวมแล้วลักษณะการเล่นจะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่
ความแตกต่างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น
การละเล่นซึ่งมีบทร้องประกอบ บางอย่างมีลักษณะคล้ายกันหรือเหมือน ๆ กัน แต่บทร้องจะแตกต่างไปตามภาษาท้องถิ่น และเนื้อความซึ่งเด็กเป็นผู้คิดขึ้น เช่น การละเล่นจ้ำจี้ หรือ ปะเปิ้มใบพลูของภาคเหนือ จ้ำมู่มี่ของภาคอีสาน และจุ้มจี้ของภาคใต้บทร้องจ้ำจี้ภาคกลางมีหลายบท แต่บทที่เป็นที่เด็กภาคกลางร้องกันเป็น
การละเล่นซึ่งมีบทร้องประกอบ บางอย่างมีลักษณะคล้ายกันหรือเหมือน ๆ กัน แต่บทร้องจะแตกต่างไปตามภาษาท้องถิ่น และเนื้อความซึ่งเด็กเป็นผู้คิดขึ้น เช่น การละเล่นจ้ำจี้ หรือ ปะเปิ้มใบพลูของภาคเหนือ จ้ำมู่มี่ของภาคอีสาน และจุ้มจี้ของภาคใต้บทร้องจ้ำจี้ภาคกลางมีหลายบท แต่บทที่เป็นที่เด็กภาคกลางร้องกันเป็น
การละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง
ว่าว
อุปกรณ์
ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้าง ประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกนำมาผ่าแล้วเหลาให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกัน ให้เป็นรูปทรงต่างๆผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกันเป็นโครงสร้างและปิดด้วย กระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุดหรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่น ว่าวที่นิยมกันคือ ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวหง่าว
ว่าวจุฬาซึ่งมี โครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก 5 ชิ้น มีจำปา 5 ดอกทำด้วยไม้ไผ่ยาว 8 นิ้ว เหลากลมโตประมาณ 3 มิลลิเมตร จำปา 1 ดอกมีจำนวนไม้ 8 อันมัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้า
ว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม 2 ชิ้นมีเหนียงเป็นเชือกยาว 8 เมตรผูกปลายทั้งสองข้างให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬา ให้เสียสมดุลจึงตกลงพื้นดิน
ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นโดยทั่วไปได้มีการ พัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯ ลฯ
ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้าง ประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกนำมาผ่าแล้วเหลาให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกัน ให้เป็นรูปทรงต่างๆผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกันเป็นโครงสร้างและปิดด้วย กระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุดหรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่น ว่าวที่นิยมกันคือ ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวหง่าว
ว่าวจุฬาซึ่งมี โครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก 5 ชิ้น มีจำปา 5 ดอกทำด้วยไม้ไผ่ยาว 8 นิ้ว เหลากลมโตประมาณ 3 มิลลิเมตร จำปา 1 ดอกมีจำนวนไม้ 8 อันมัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้า
ว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม 2 ชิ้นมีเหนียงเป็นเชือกยาว 8 เมตรผูกปลายทั้งสองข้างให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬา ให้เสียสมดุลจึงตกลงพื้นดิน
ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นโดยทั่วไปได้มีการ พัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯ ลฯ
วิธีการเล่นมีอยู่ 3 วิธี คือ
1.ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปทรงต่างๆ
2.บังคับสายชักให้ชักเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
3.การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าคว้ากันบนอากาศจะจัดให้มีการแข่งขันที่บริเวณ ท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขัน ว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในดินแดนของตน ล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังดินแดนของตนโดยให้ว่าวปักเป้าติด ตรงดอกจำปาที่ติดไว้ เมื่อติดดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตน ขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้อกงตัวว่าว จุฬาให้เสียสมดุล และชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตน ในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้ามาทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของ ตนเองได้ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามา ว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็น เอกลักษณ์ของไทย เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าวเป็นอย่างมากต้อง ใช้ความประณีต และความแข็งแรง ข้อสำคัญต้องอาศัยความพร้อมเพรียงด้วย
ชักเย่อ
อุปกรณ์
1. เชือก ที่ใช้ดึงต้องยาวอย่างน้อย 33.50 ม. เส้นรอบวงเชือกต้องไม่ต่ำกว่า 10 ซม. แต่ไม่เกิน 12 – 50 ซม.
2. ตรงกึ่งกลางของเชือกทาสีแดงให้เห็นชัดเจน จากจุดสีแดงนับไปทางซ้าย 4 เมตร ทางขวา 4 เมตร แล้วทาสีขาวเอาไว้ ฝ่ายใดดึงให้สีขาวของอีกฝ่ายหนึ่งมาถึงจุดเริ่มต้นการแข่งขัน จะเป็นผู้ชนะ
(ตรงจุดสีแดงของเชือกตีเส้นเป็นจุดเริ่มต้นไว้ที่สนาม )
3. ตำแหน่งที่ผู้เล่นใช้มือจับเชือก ต้องห่างจากจุดสีขาวอย่างน้อย 1 เมตร ดังนั้นตรงจุดที่ห่าง
จากสีขาว 1 เมตร จะต้องทำเครื่องหมายสีน้ำเงินเอาไว้ให้เห็นชัดเจน ใครจะจับตรงจุดไหนก็ได้
แต่ต้องไม่ใกล้จุดสีขาวน้อยกว่า 1 เมตร
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายฝ่ายละกี่คนก็ได้ ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว(ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก)ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับมือ ทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อๆกัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
ในอดีตกิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบกันก็คือ งานบุญและการละเล่นหลังทำบุญการเล่นชักเย่อก็เช่นกัน ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าเกี้ยวพาราสีและสนุกสนานด้วยกัน แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันโดยไม่มีข้อจำกัด
หมากเก็บ
อุปกรณ์
ก้อนหินลักษณะค่อนข้างกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำนวน 5 เม็ด
วิธีเล่น
ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก 5 ก้อนเริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง 5 กระจาย ไปบนพื้นกระดานถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย 4 ลูกกระจายบนพื้นทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ ในขณะเดียวกันถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก 2 หมาก3 หมาก4 ต่อไปด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก 3 ลูกพร้อมกันเรียกว่า หมาก3 แล้วจึงเก็บอีก 1 ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก4 และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นได้ ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่นการใช้มือซ้ายป้องและเขี่ย หรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูกทีละ 2 3 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตายยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู" ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่างๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและนิ้วหัวแม่มือยืนพื้น เป็นรูปเหมือนรูปูก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปูหรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้ พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บอย่างไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกลูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน
ก้อนหินลักษณะค่อนข้างกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำนวน 5 เม็ด
วิธีเล่น
ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก 5 ก้อนเริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง 5 กระจาย ไปบนพื้นกระดานถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย 4 ลูกกระจายบนพื้นทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ ในขณะเดียวกันถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก 2 หมาก3 หมาก4 ต่อไปด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก 3 ลูกพร้อมกันเรียกว่า หมาก3 แล้วจึงเก็บอีก 1 ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก4 และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นได้ ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่นการใช้มือซ้ายป้องและเขี่ย หรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูกทีละ 2 3 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตายยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู" ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่างๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและนิ้วหัวแม่มือยืนพื้น เป็นรูปเหมือนรูปูก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปูหรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้ พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บอย่างไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกลูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2. เป็นการฝึกสมาธิ เกิดไหวพริบในการแก้ปัญหา
3. ฝึกน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยปราศจากการพนันอันเป็นอบายมุข
4. เป็นการปลูกฝังความรักความสามัคคีในหมู่เด็ก
ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและความเครียดในสังคม การส่งเสริมการเล่นหมากเก็บ อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดช่องว่างในหมู่เด็ก สร้างความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมไทยในอนาคต
1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2. เป็นการฝึกสมาธิ เกิดไหวพริบในการแก้ปัญหา
3. ฝึกน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยปราศจากการพนันอันเป็นอบายมุข
4. เป็นการปลูกฝังความรักความสามัคคีในหมู่เด็ก
ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและความเครียดในสังคม การส่งเสริมการเล่นหมากเก็บ อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดช่องว่างในหมู่เด็ก สร้างความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมไทยในอนาคต
ตี่จับ
อุปกรณ์
เชือกหรืออะไรก็ได้ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดน
วิธีการเล่น
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้ เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่าๆกัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง"ตี่"ไม่ให้ขาดเสียง และวิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ในขณะร้อง "ตี่" นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่" เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง"ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง"ตี่"ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ซ่อนหาหรือโป้งแปะ
มีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องที่ เช่น แอสไพ เป็นต้น ในกรุงเทพฯ และชานเมืองส่วนใหญ่จะเรียกว่า ซ่อนหา หรือ โป้งแปะไม่มีอุปกรณ์การเล่น มีกติกา และวิธีการเล่นดังนี้
กติกา
1. ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้
2. ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน
3. ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน
4. หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง
5. ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย
วิธีการเล่น
หากมีพื้นที่กว้างมากก่อนการเล่นผู้เล่นทั้งหมดอาจตกลงกันก่อนว่า ห้ามซ่อนเกินเขตที่กำหนด ผู้ใดออกไปซ่อนนอกเขตถือว่าผิดกติกาจะต้องเป็นผู้หาแทน เมื่อตกลงได้แล้วถึงดำเนินการเลือกผู้ที่จะเป็นผู้หาคนหนึ่ง ตามวิธีการแบ่งกลุ่มและจัดลำดับการเล่น แล้วจึงเริ่มเล่น ผู้หาต้องปิดตา โดยใช้มือปิดหรือหันหน้าเข้าหาเสา ต้นไม้ ฯลฯ บางครั้งผู้หาอาจนับเลขไปด้วยเพื่อเป็นการให้เวลาแก่ผู้ซ่อน และผู้ที่ไปซ่อนอาจร้องว่า “ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว” เมื่อคะเนว่าผู้ซ่อนหาที่ซ่อนได้หมดแล้ว จึงถามว่า เอาหรือยังผู้ซ่อนจะตอบว่า เอาละ ผู้หาจึงเปิดตาแล้วออกหาผู้ซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่คาดว่าต้องมีผู้ไปซ่อน เมื่อพบผู้ซ่อนคนใดจะต้องพูดว่า โป้ง... (ชื่อผู้ที่พบ)... ผู้นั้นจะออกมาจากที่ซ่อน ผู้หาต้องหาผู้ซ่อนต่อไปจนครบหมดทุกคนขณะหาถ้ามีผู้ซ่อนคนใดวิ่งเข้ามาแตะตัวผู้หาแล้วร้องว่า แปะผู้หา ต้องเป็นอีกรอบหนึ่ง แต่ถ้าหาผู้ซ่อนได้ครบทุกคน ผู้ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน พฤติกรรมเชิงวิเคราะห์
ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไว ตาไว สามารถจับทิศทางของเสียง ที่ได้ยินได้อย่างแม่นยำ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
1. มีความรอบคอบและระมัดระวังตัว มีกลยุทธในการซ่อนตัว
2. รู้จักการประเมินสภาพแวดล้อม และคาดเดาสถานที่ซ่อนตัวของผู้ซ่อน
3. เป็นการฝึกบังคับการเคลื่อนไหวให้เบาที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้หาได้ยินหรือหาพบ
4. พัฒนาจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
มอญซ่อนผ้า
อุปกรณ์
ผ้าเช็ดหน้าขนาดใหญ่หนึ่งผืน ไม่ต้องขมวดหรือพันให้เป็นเกลียว เพราะถ้าฟาดถูกผู้ใดเข้าแล้วจะเจ็บ
วิธีเล่น
ขั้นที่ ๑ ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุด ถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอก ที่เหลือนอกนั้นนั่งกันเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน ในระยะห่างกันประมาณ ๑ ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตัก คุยกันหรือร้องเพลงก็ได้ เพื่อความรื่นเริง
ขั้นที่ ๒ ให้ผู้ถือผ้าบังตัวไว้มิให้ผู้นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆ วงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิท เดินบ้างวิ่งบ้าง ทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วาง เพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นเป็นโอกาสแล้วก็แอบหย่อนผ้าลงไว้ ใกล้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่ง เมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้ นั้นต้องรู้ตัว
ขั้นที่ ๓ ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึง ก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้ แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้หนึ่งผู้ใดต่อไป แต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัว จนผู้ที่วางวิ่งมาถึงก็หยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกวางจนกว่าจะลุกขึ้น รับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนที่
ข้อระวังในการเล่น ผู้นั่งทุกคนจะหันหน้าไปดูข้างหลังไม่ได้ ถ้าหากสงสัยว่าจะมีผ้าอยู่ข้างหลังตนหรือไม่ก็ให้ใช้มือคลำดูเท่านั้น ผู้ถือต้องวางผ้าลงข้างหลังให้ใกล้ตัวผู้นั่ง จะวางเกินกว่า ๑ ศอกไม่ได้และให้วิ่งหรือเดินต่อไปข้างหน้าจนบรรจบรอบ จะหันหลังเดินย้อนมาไม่ได้
เพลงประกอบการเล่น
"มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ใครเผลอคอยระวัง ใครเผลอคอยระวัง ตุ๊กตาอยู่ข้างหลังระวังจะถูกตี”
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
1. เพื่อหัดให้ผู้เล่นเป็นคนว่องไว
2. เพื่อฝึกให้ผู้เล่นเป็นคนที่มีไหวพริบและรู้จักสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ
รีรีข้าวสาร
วิธีเล่น
1. ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม
2. ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ
3. หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องบทร้องประกอบการเล่น
4. เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า “คอยพานคนข้างหลังไว้” ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน
เพลงร้องประกอบ
"รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้"
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
1. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
2. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้
1. ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม
2. ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ
3. หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องบทร้องประกอบการเล่น
4. เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า “คอยพานคนข้างหลังไว้” ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน
เพลงร้องประกอบ
"รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้"
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
1. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
2. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้
การละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนือ
เตยหรือหลิ่น
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด ตาก
สถานที่เล่น ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
อุปกรณ์ ไม่มี
จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน
วิธีเล่น
ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป
ม้าจกคอก
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด กำแพงเพชร
การเล่นม้าจกคอก ภาคกลางเรียก ลาวกระทบไม้ การเล่นชนิดนี้เข้าใจว่าอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการละเล่นของชาวลัวะ
อุปกรณ์และวิธีเล่น
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป
อุปกรณ์
๑. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ ๕ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
๒. ขอนไม้สูงประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๑-๒ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
สถานที่เล่น เล่นบริเวณที่เป็นลานกว้าง
วิธีการเล่น
๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกมี ๒ คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ ๒ มี ๒ คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
๒. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอก หรือม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้น ในระหว่างคานนั้นบ้าง
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวันขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา
สาระ
การเล่นม้าจกคอก เป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
จังหวัด กำแพงเพชร
การเล่นม้าจกคอก ภาคกลางเรียก ลาวกระทบไม้ การเล่นชนิดนี้เข้าใจว่าอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการละเล่นของชาวลัวะ
อุปกรณ์และวิธีเล่น
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป
อุปกรณ์
๑. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ ๕ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
๒. ขอนไม้สูงประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๑-๒ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
สถานที่เล่น เล่นบริเวณที่เป็นลานกว้าง
วิธีการเล่น
๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกมี ๒ คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ ๒ มี ๒ คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
๒. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอก หรือม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้น ในระหว่างคานนั้นบ้าง
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวันขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา
สาระ
การเล่นม้าจกคอก เป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด กำแพงเพชร
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวน การเล่น
วิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุด ไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทาง จมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อ เช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกม นั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดย ใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
เป็นการเล่นที่ง่ายไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์และการเก็บรักษาอุปกรณ์ เนื่องด้วยไม้ที่ ใช้เล่นนิยมใช้ไม้สดเนื่องจากมีน้ำหนักในการใช้โยนหรือตีได้ไกล และเป็นการเล่นที่ต้องใช้ทักษะการงัด ให้ได้ไกล ดังนั้นจะต้องวางไม้ลูกให้ได้จุดกึ่งกลาง วางมุมไม้แม่ให้ได้องศาการดีดขึ้น ฝ่ายรับจะต้องมีทักษะการรับประสาทสั่งการความสัมพันธ์ของสายตาและอันตรายที่ อาจเกิดขึ้น แต่ละช่วงของการเล่นจะมีเทคนิคการเล่นที่ต้องใช้ความสังเกต และฝึกความชำนาญในโอกาสต่อไป เช่น คนที่เล่นได้ดีคือจะงัดให้ไกลหรือเดาะได้จำนวนครั้งได้มาก และเวลาไม้ตีลูกก็จะได้ไกลเนื่องจากในขณะตีนั้นจะต้อง ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างการปล่อยมือไม้ลูกและไม้แม่ให้ตรงจุดกึ่งกลาง ศูนย์กลางของน้ำหนัก เช่นเดียวกับการตีเทนนิส หรือแบดมินตัน หรือเบสบอลและฝึกความแม่นยำในการโยนกลับ หรือพัดลูกกอล์ฟบนกรีนหรือเปตอง
อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวน การเล่น
วิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุด ไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทาง จมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อ เช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกม นั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดย ใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
เป็นการเล่นที่ง่ายไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์และการเก็บรักษาอุปกรณ์ เนื่องด้วยไม้ที่ ใช้เล่นนิยมใช้ไม้สดเนื่องจากมีน้ำหนักในการใช้โยนหรือตีได้ไกล และเป็นการเล่นที่ต้องใช้ทักษะการงัด ให้ได้ไกล ดังนั้นจะต้องวางไม้ลูกให้ได้จุดกึ่งกลาง วางมุมไม้แม่ให้ได้องศาการดีดขึ้น ฝ่ายรับจะต้องมีทักษะการรับประสาทสั่งการความสัมพันธ์ของสายตาและอันตรายที่ อาจเกิดขึ้น แต่ละช่วงของการเล่นจะมีเทคนิคการเล่นที่ต้องใช้ความสังเกต และฝึกความชำนาญในโอกาสต่อไป เช่น คนที่เล่นได้ดีคือจะงัดให้ไกลหรือเดาะได้จำนวนครั้งได้มาก และเวลาไม้ตีลูกก็จะได้ไกลเนื่องจากในขณะตีนั้นจะต้อง ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างการปล่อยมือไม้ลูกและไม้แม่ให้ตรงจุดกึ่งกลาง ศูนย์กลางของน้ำหนัก เช่นเดียวกับการตีเทนนิส หรือแบดมินตัน หรือเบสบอลและฝึกความแม่นยำในการโยนกลับ หรือพัดลูกกอล์ฟบนกรีนหรือเปตอง
โพงพาง
ภาค : ภาคเหนือ
จังหวัด : ตาก
สถานที่เล่น : สนาม,ลานกว้าง
อุปกรณ์ : ผ้าปิดตา
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : ยิ้งฉุ บกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่นๆจับมือเป็นวงกลมร้องเพลง "โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอด ปล่อยลูกช้างเข้าในวง" ขณะเดินวนรอบๆโพงพางตาบอดร้องเพลง1-3จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่นๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางต่อไปอีกเรื่อยๆ
โอกาส : เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆเล่นกันโดยทั่วไป
จังหวัด : ตาก
สถานที่เล่น : สนาม,ลานกว้าง
อุปกรณ์ : ผ้าปิดตา
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : ยิ้งฉุ บกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่นๆจับมือเป็นวงกลมร้องเพลง "โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอด ปล่อยลูกช้างเข้าในวง" ขณะเดินวนรอบๆโพงพางตาบอดร้องเพลง1-3จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่นๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางต่อไปอีกเรื่อยๆ
โอกาส : เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆเล่นกันโดยทั่วไป
การละเล่นพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การเล่นงูกินหาง
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด ร้อยเอ็ด
อุปกรณ์ และวิธีเล่น การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใด ๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาสจะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”
เมื่อ พ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็จะ พยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑. ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
๒. ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
๓. ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่จะเกิดกับตน
๔. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก
แข่งเรือบก
ภาค ภาคตะวันออกเฉีบงเหนือ
จังหวัด ชัยภูมิ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ไม้กระดาน ๒ แผ่น ยาวประมาณ ๑ วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้
วิธี การเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
ส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
นอกจากจะเป็นการออกกำลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือบกจะเล่นกันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน
วิ่งขาโถกเถก
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด ชัยภูมิ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ ไม้ไผ่กิ่ง ๒ ลำ ถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆ สอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้
วิธี การเล่น ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรง ๆ ที่มีกิ่ง ๒ ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยก ข้างนั้น ส่วนมากเด็ก ๆ ที่เล่นมักจะมาแข่งขันกัน ใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ
โอกาสที่เล่น
การวิ่งขาโถกเถก ถือเป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาส โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
นอก เหนือจากความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการออกกำลังกาย บริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี เดิมผู้ที่ใช้ขาโถกเถกเป็นชายหนุ่มไปเกี้ยวสาว เสียงเดินจากไม้เมื่อสาวได้ยินก็จะมาเปิดประตูรอเพื่อพูดคุยกันตามประสา หนุ่มสาว หรือบ้านสาวเลี้ยงสุนัขไม้โถกเถกยังเป็นอุปกรณ์ไล่สุนัขได้ด้วย
การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้
เป่ากบ
ภาค ภาคใต้จังหวัด นราธิวาส อุปกรณ์และวิธีการเล่นอุปกรณ์๑. ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความถนัด๒. ผู้เล่นจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือมากกว่า
เล่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้๓. สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
วิธีการเล่น
เป่า กบเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นกันทั้งเด็กชายและหญิง ผู้เล่นมีจำนวน ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้ สถานที่เล่น ในที่ร่ม ใช้พื้นที่เรียบ ๆ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
ซึ่ง ผู้เล่นจะเอายางเส้น (ยางวง) จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจจะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น
ให้ อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น (ยางวง) ของตนไปข้างหน้าทีละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผุ้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้น
ของ ฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้น (ยางวง) แต่อาจให้รางวัลอื่น ๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นเป่ากบของเด็ก ส่วนใหญ่เล่นกันในเวลาที่ว่าง และมีอุปกรณ์พร้อมที่จะเล่นกันทั้งสองฝ่าย
คุณค่า / แนวคิด/ สาระ
๑. การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึก การรู้กำหนดจังหวะและกะระยะด้วย๒. การเล่นเป่ากบเป็นการฝึกสังเกต ไหวพริบในการเป่าของคู่ต่อสู้
ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเป่า ถ้าเป่าโดยไม่คิดอาจจะผิดพลาดได้ จนทำให้ต้องแพ้
๓. เป็นการฝึกเด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี
ชักกะเย่อ
ภาค ภาคใต้
จังหวัด พังงา
อุปกรณ์และวิธีเล่น
เชือกเส้นใหญ่ๆ ๑ เส้น สำหรับจับดึงกัน
วิธีเล่น
จัด คนเล่นออกเป็น ๒ พวก ให้มีกำลังพอๆ กัน เมื่อแบ่งพวกเสร็จแล้ว ให้ไปอยู่คนละข้างของไม้หรือเชือกนั้น ให้คนหัวแถวจับก่อนข้างละคน นอกนั้นให้จับเอวกันตลอดทั้งสองข้าง
เมื่อ ให้สัญญาณแล้วต่างฝ่ายก็ลงไปข้างหลังทุกคนระเบียบการตัดสิน ใช้ตัดสินกันเองหรือให้มีผู้ตัดสิน ๑ คน ยืนตรงกลางให้สัญญาณและตัดสินได้ เพื่อให้รู้แน่ว่าฝ่ายใดแพ้ชนะจะปักธง
ไว้ตรงกลางก็ได้ ฝ่ายใดถูกดึงเลยเขตได้หมดตั้งแต่หนึ่งศอกขึ้นไปนับเป็นแพ้ เมื่อแพ้แล้วไม่มีปรับให้ร้องรำอย่างใดเลย
โอกาสที่เล่น
เล่นแข่งขันในงานกิจกรรมต่างๆ หรือในเทศกาลพิเศษ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
เพื่อออกกำลังและรับความรื่นเริงในเมื่อแพ้ชนะกันเท่านั้น
หมากขุม
ภาค ภาคใต้
จังหวัด นครศรีธรรมราช
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ในการเล่น
๑). รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร
มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
๓) ผู้เล่นมี ๒ คน
วิธีการเล่น
๑) ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
๒) การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวนว่าเม็ด
สุด ท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมือง
ฝ่าย ตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป
เล่น เดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้า
ตาย ในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่ากินแทน
เล่น อย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมืองของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
๓) การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่าย
จะ มีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน
หลุม ใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะ
เล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้
โอกาสหรือเวลาในการเล่น
การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน
คุณค่า สาระ แนวคิด
๑. การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน จำนวนลูกหมากในหลุม ไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีก
ผู้ เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่าง
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
๒. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนาน และความใกล้ชิดระหว่างพี่น้อง ญาติมิตร
๓. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น